[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เมนูหลัก
link PRD
e-Learning


สำนักนายกรัฐมนตรี
นโยบายรัฐบาล
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


linkweb







qrcodemaker
บันทึกประจำวัน

 
  

  หมวดหมู่ : บทความ
เรื่อง : ขนส่งย้ำ!! คนเป็นโรคลมชักขั้นหนัก ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้
โดย : สมจิตร
เข้าชม : 1663
อังคาร ที่ 29 เดือน มกราคม พ.ศ.2562 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ขนส่งย้ำ!! คนเป็นโรคลมชักขั้นหนัก ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้

                  นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้การขอรับใบอนุญาตขับรถต้องใช้ใบรับรองแพทย์แสดงว่าไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถเป็นหลักฐานประกอบการขอดำเนินการ ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกได้หารือร่วมกับแพทยสภาอย่างต่อเนื่องเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสุขภาพเพื่อออกใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถให้เป็นปัจจุบันรองรับสภาวะโรคต่างๆ รวมถึงประเด็นปัญหาของผู้ป่วยโรคลมชักซึ่งเกิดอุบัติเหตุจากอาการชักในระหว่างขับรถ ล่าสุด คณะกรรมการแพทยสภาได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ให้ “โรคลมชักในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้” เป็นโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ เว้นแต่แพทย์ผู้ให้การรักษารับรองว่าผู้ป่วยไม่มีอาการชักเกินกว่า 2 ปี 

                ดังนั้น กรมการขนส่งทางบกจึงได้ซักซ้อมแนวทางการตรวจสอบให้แก่นายทะเบียนทั่วประเทศ เพื่อให้การตรวจสอบลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตขับรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสำนักงานขนส่ง โดยให้ตรวจสอบหลักฐานใบรับรองแพทย์ที่ใช้ประกอบคำขอ ดังนี้ ต้องเป็นใบรับรองแพทย์ตามแบบมาตรฐานที่แพทยสภารับรอง ในส่วนที่ 1 ของผู้ขอรับใบรับรองสุขภาพลงลายมือชื่อรับรองตนเอง ประวัติโรคประจำตัว ประวัติอุบัติเหตุและการเข้ารับการผ่าตัดที่สำคัญ และส่วนที่ 2 ของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายรับรอง และในกรณีผู้ขอรับใบรับรองสุขภาพป่วยเป็นโรคลมชักในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ต้องได้รับการรับรองว่าผู้ป่วยโรคลมชักไม่มีอาการชักเกินกว่า 2 ปี รวมถึงการรับรองในกรณีอื่น เช่น ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถขับรถได้ ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน ไม่ปรากฏอาการของการติดยาเสพติดให้โทษ ไม่ปรากฏอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง และไม่ปรากฏอาการและอาการแสดงของโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะปรากฏอาการ วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการ จึงจะสามารถดำเนินการขอรับใบอนุญาตขับรถได้ตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก 
.
                 อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรองดังกล่าว สถานพยาบาลส่วนใหญ่ใช้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถควรแจ้งวัตถุประสงค์ในการขอรับใบรับรองแพทย์ให้ชัดเจน เพื่อให้แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้ถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ทั้งนี้ สำหรับโรคประจำตัวบางกลุ่มอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถยังอยู่ในระหว่างการหารือร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบกและแพทยสภาที่อาจกำหนดเพิ่มเติมในอนาคต เช่น โรคเบาหวานระยะที่ต้องฉีดอินซูลิน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางสมอง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจหรือขยายเส้นเลือดหัวใจซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ เป็นต้น ซึ่งต้องมีการพิจารณาหลักเกณฑ์และกำหนดรายละเอียดของใบรับรองแพทย์ให้สามารถคัดกรองผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ ได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนรวม
-------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
สำนักงานเลขานุการกรม
กรมการขนส่งทางบก
โทร. 0-2271-8805 – 6
Fax. 0-2271-8805





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความ5 อันดับล่าสุด

      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เชิญชวนเด็ก และเยาวชน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมัครเข้าร่วมการประกวดขับร้องเพลง.. เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ 1/ธ.ค./2565
      เตือนกันทุกหน้าหนาว‼️ อย่ากินเหล้าคลายหนาว ....อันตรายถึงตาย 20/พ.ย./2565
      ฝนตก มีน้ำขัง \"ระวังลื่นล้ม\" !! 18/ต.ค../2565
      อัปเดต‼ มอเตอร์เวย์ 8 สายทั่วไทย 24/ก.ย./2565
      สำนักงานยุวกาชาด และอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย ขอเชิญเยาวชน อายุ 18-30 ปี ที่มีใจรักในงานจิตอาสา มาเป็นตัวแทนเยาวชนทำงานกับกาชาด ในโครงการ”สรรหากุลบุตร และกุลธิดากาชาด ประจำปี 2565” สมัครทางออนไลน์หรือสแกน QR Code https://forms.gle/NWRXmTP6tSpaCx5P7 รั 16/ก.ย./2565


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5